ข้อมูลทั่วไป

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข
วิสัยทัศน์

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข ดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี “เป็นองค์กรจัดการสุขภาพ เพื่อประชาชนสุขภาพดี”
วิสัยทัศน์ของกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้แก่ “เป็นองค์กรต้นแบบในการบริหารจัดการด้านคุ้มครองผู้บริโภค” ดำเนินการภายใต้พันธกิจหลัก 5 ข้อ
พันธกิจ

  • 1. พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ให้การรับรองมาตรฐาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • 2. ส่งเสริมศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมได้
  • 3. พัฒนาระบบ กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย
  • 4. พัฒนาระบบงานเภสัชกรรมรวมถึงการบริหารเวชภัณฑ์ยาของสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ และประชาชนได้รับยาที่มีคุณภาพ
  • 5. มุ่งเน้นการจัดการความรู้ และการวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
  • เป้าประสงค์
  • 1. ผู้ประกอบการสามารถยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการให้บริการธุรกิจสุขภาพ โดยการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่และเครือข่าย
  • 2. ประชาชนสามารถเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ และปลอดภัย ได้ด้วยตนเอง
  • 3. กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคและเครือข่ายเข้มแข็งมีประสิทธิภาพ สามารถเฝ้าระวังปัญหาสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว
  • 4. การบริการเภสัชกรรมมีมาตรฐาน การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยามีประสิทธิภาพ
  • ยุทธศาสตร์

    ยุทธศาสตร์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

    โครงสร้าง

    โครงสร้าง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

    ข้อมูลทั่วไป

         จังหวัดสุราษฎร์ธานี รับผิดชอบพื้นที่ 20 อำเภอ 131 ตำบล 1,075 หมู่บ้าน มีประชากรกลางปี 2561 จำนวน 1,060,648 คน
    สถานการณ์เศรษฐกิจภาพรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดปี 2560 ณ ราคาประจำปี มูลค่าเท่ากับ 211,048 ล้านบาท
         ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อคน เท่ากับ 200,471 บาท เป็นลำดับที่ 4 ของภาคใต้ รายได้เฉลี่ยของประชากร เท่ากับ 162,329 บาทต่อปี
    ในปี 2563 จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีจำนวน

  • เทศบาลนคร 2 แห่ง
  • เทศบาลเมือง 3 แห่ง
  • เทศบาลตำบล 35 แห่ง
  • อบต. 97 แห่ง
  • มี
  • รพ.รัฐ 21 แห่ง
  • รพ.สต. 166 แห่ง
  • สถานีอนามัย 2 แห่ง
  • ตลาดสดของเทศบาล/รัฐ 14 แห่ง
  • ตลาดสดของเอกชน 17 แห่ง
  • กลุ่มวิสาหกิจผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน 2,023 กลุ่ม
  • จำนวนสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ตั้งอยู่ในจังหวัด 70 แห่ง
  • ณ ตุลาคม 2563 จังหวัดสุราษฎร์ธานี มี
  • สถานประกอบการด้านยา 544 แห่ง
  • สถานพยาบาลเอกชน 561 แห่ง
  • สถานที่ผลิตอาหาร 444 แห่ง
  • สถานที่นำเข้าอาหารทั้งสิ้น 17 แห่ง
  • สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ 509 แห่ง
  • และสถานประกอบการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทอื่นๆ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

    โครงสร้าง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

    โครงสร้าง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

    โครงสร้าง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

    โครงสร้าง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

    โครงสร้าง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

    ขอบเขตงานและภารกิจ

         กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีบทบาทหน้าที่หลักในการอนุญาตและตรวจสอบสถานที่ผลิต จำหน่าย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพให้ได้มาตรฐานเพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย ซึ่งภารกิจหลักประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่

  • 1.งานกำกับตรวจสอบผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพก่อนออกสู่ท้องตลาด (Pre-marketing control) ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองผลิตภัณฑ์สุขภาพ สถานประกอบการและบริการสุขภาพก่อนอนุญาต ให้ผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายหรือเปิดดำเนินการ
  • 2. งานกำกับตรวจสอบผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพหลังออกสู่ท้องตลาด (Post-marketing control) ทำหน้าที่ตรวจสอบกำกับ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพหลังออกสู่ตลาด ตรวจสอบกำกับเฝ้าระวังการโฆษณา รับและจัดการเรื่องร้องเรียน
  • 3. งานสนับสนุนอาหารปลอดภัย (Food safety) ทำหน้าที่สร้างเครือข่ายอาหารปลอดภัยและตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • 4. การพัฒนาศักยภาพและให้ความรู้แก่ผู้บริโภค (Empowerment & education consumer) เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้ สามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย
  • 5. การส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ (Empowerment entrepreneur) เพื่อให้มีองค์ความรู้และแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงสถานประกอบการให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
  •      ทั้งนี้ กฎหมายในความรับผิดชอบของกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคมีทั้งหมด 12 ฉบับ ได้แก่
  • 1. พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510
  • 2. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
  • 3. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558
  • 4. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
  • 5. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551
  • 6. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559
  • 7. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
  • 8. พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533
  • 9. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541
  • 10. พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559
  • 11. พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542
  • 12. พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2535
  •      อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากงานตามภารกิจหลักแล้ว ยังมีภารกิจงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานเภสัชสาธารณสุข การพัฒนางานวิชาการ รวมถึงควบคุมกำกับการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงด้วย